คชกุศ ตะขอช้าง พลาย เอกทันตะ มหาบารมี
ขอช้าง เป็น เทพวราวุธของ พระพิฆเณศวร ซึ่งเป็นโอรสของพระอิศวร ขอช้างได้รับความนับถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งมงคลนั้น ตำราเล่าว่า " ในป่าหิมพานต์ ครั้งหนึ่งเกิดมีช้างพลายเชือกหนึ่งชื่อ เอกทันต์ เป็นช้างที่ดุร้ายมีฤทธิ์มากเที่ยวสร้างความเดือดร้อนให้เทวดาและมนุษย์จน อยู่ไม่เป็นสุข ไม่มีใครปราบได้ พระอิศวร จึงทรงมีบัญชาให้พระนารายณ์ลงมาปราบ ช้าง เอกทันต์ พยายามหลบหนีเพราะรู้ตัวดีว่าสู้ไม่ได้ พระนารายณ์ตามไปจนพบ และทรงใช้บ่วงบาศคล้องเอาช้าง เอกทันต์ ไว้ได้ แต่เกิดปัญหาว่าบริเวณที่จับช้างได้นั้น เป็นทุ่งกว้างโล่ง ไม่มีต้นไม้หาที่ผูกช้างไม่ได้ ในที่สุดจึงทรงปักตรีศูลอันเป็นเทพศาตราวุธลงไปในดิน แล้วตรัสสั่งให้เทพศาตราวุธนั้นเป็นต้นไม้ใหญ่ ทันใดนั้นเทพศาตราวุธก็กลายเป็นต้นมะตูมใหญ่ จึงทรงผูกช้างไว้กับต้นมะตูมทรมานจนช้างคลายพยศ แล้วเสด็จขึ้นทรงพร้อมกับหักกิ่งมะตูมอันเป็นหนามมาทำเป็นขอช้าง บังคับนำช้างไปเฝ้าพระอิศวร และต่อมา พระนารายณ์ก็ทรงมอบขอช้างนั้นแก่ พระพิฆเณศวร เป็นเทพอาวุธประจำพระองค์ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นไม้มะตูมจึงถือว่าเป็นมงคล มักจะนำใบมะตูมใส่ลงไปในน้ำมนต์หรือรดน้ำมนต์แล้วก็เอาใบมะตูมทัดหู ด้วยถือว่าเป็นสิริมงคลเหมือนกับขอช้าง
คชกุศ หรือ อังกุศ หรือ อังกุศะ (สก. องฺกุศ; มค. องฺกุส) คือ ขอสับช้าง อันเปรียบเสมือนสิ่งมงคลและอาวุธประจำกายของควาญช้าง เพื่อที่จะใช้สั่งการช้างให้ทำตามคำสั่ง อย่างที่เราสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป ซึ่งบางที่เรียกว่า ตะขอช้าง บ้าง ขอสับช้าง บ้าง ขอจ๊าง บ้างแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า คชกุช นั้นถือเป็น ๑ ใน ๘ สิ่งมงคลของพราหมณ์เป็น หนึ่งในอาวุธสำคัญของพระพิฆเณศวรเจ้า สังเกตได้จากรูปปั้นหรือภาพวาดโบราณ ที่พระพิฆเณศวรจะถือตะขอช้างเอาไว้ในมือ อันเป็นเครื่องหมายถึงการขจัดเสียซึ่งอุปสรรค ขจัดภัย และเป็นบารมีมหาอำนาจเป็นมหามงคลอีกด้วยเป็นอาวุธของพระพุธ พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ที่เป็นศุภเคราะห์ หรือดาวดี ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะสุภาพ อ่อนโยน กริยามรรยาทเรียบร้อย วาจาไพเราะอ่อนหวาน มรรยาทสวยงามน่าเอ็นดู เป็นดาวที่มีวุฒิสูง ฉลาดในเชิงพูด มีลิ้นเป็นนักการพูด เป็น ”เจ้าแห่งวาทะศิลป” มีความคิดละเอียดสุขุมดัง นั้น คชกุศ ย่อมเป็นเครื่องหมายแห่ง บารมี อำนาจวาสนา ความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค สมควรที่ผู้ที่เคารพศรัทธาในพระพิฆเณศวร หรือต้องการความสำเร็จในเรื่องต่างๆจะบูชาไว้ และยังหมายถึงการเป็นผู้มีวาทะศิลป์ พูดจาหว่านล้อมมีคนนับถือเชื่อฟัง อันเป็นลักษณะของพระพุธ เนื่องจากเป็นอาวุธประจำของพระพุธ ผู้ที่เกิดวันพุธ หรือต้องมีการเจรจา ต้องคุมคน ต้องมีลูกน้อง ลูกค้า ต้องใช้คำพูดหรือบุคลิกในการติดต่อเจรจาทำการทำงาน ก็ควรที่จะได้มีบูชาไว้
คชกุศเป็นของมงคลมีพลังที่เปี่ยมไปด้วย มนต์ขลังแห่งครูปะกำ ที่สามารถค้ำคูณดวงชะตา และข่มสรรพอาถรรพ์ คุณไสย และสิ่งไม่ดีต่างๆได้อย่างชงัดมีผู้รู้กล่าวว่า เป็น เครื่องรางที่วิเศษ แต่หาได้น้อยเต็มที เพราะเข้าใจกัน เพียงว่า เป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้น คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือ ตะขอช้าง เป็นของอาถรรพ์ที่ เเรงครู สูงมาก ชนิดหนึ่งคชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือ ตะขอช้าง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกันในหมู่ผู้ศึกษาพระเวทย์ที่ รู้ลึกรู้จริง ว่าเป็นของมงคล ที่หาได้ยากยิ่ง และมีอานุภาพสูง หลายประการคือ เป็นของ โภคทรัพย์ จากการเป็นของอ หมายถึงการเกี่ยว การเหนี่ยวรั้งไว้ อีกประการคำว่าขอก็คือได้ เป็นคำมงคล ในภาคใต้จะมีพิธีการชนิดหนึ่งคือการฝัง กะโจ ที่เป็นคุณไสยแบบหนึ่งในสวนผลไม้ซึ่งหากใครกินผลไม้ในสวนนั้น โดยเจ้าของไม่อนุญาต ก็จะมีอาการผิดสำแดงจุกเสียด แก้อย่างไรก็ไม่หายต้องขอขมาและให้เจ้าของสวนมาแก้ จึงจะหายบางรายเจ้าของสวนไม่อยู่กว่าจะกลับมาแก้จุกตายคาสวน ก็มีจึงเป็นที่เกรงกลัว ไม่มีใครกล้าลักกินของในสวนโดยพละการ แต่เชื่อกันอีกว่า หากนำ คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือ ตะขอช้าง นี่เกี่ยวผลไม้นั้นก่อนก็สามารถนำมากินได้ โดยไม่มีอาการผิดสำแดงเรียกว่ากะโจนั้นแพ้อาถรรพ์ขอช้าง การตีมีดหมอหรือมีดชน๊อกในตำราของปักษ์ใต้ หรือตีกริชก็มักมีเหล็กอาถรรพ์หลายประการเช่น เหล็กพวยกา(กาน้ำพระเมื่อก่อนเป็นเหล็กเคลือบสี) เหล็กขอ คือ คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือ ตะขอช้าง เป็นสวนผสมอยู่เกือบทุกตำราเชื่อว่าข่มอาถรรพ์ดีนัก หากนำขอช้างนั้นมาประจุอาคมเพิ่มจะเป็นเครื่องรางชั้นยอดโดยนิยมบรรจุของ สำคัญเช่น เศษเชือกประกำ ตะไคร่เสาตะลุงช้างเผือก น้ำมันช้าง ผงวิเศษจากการลบยันต์หัสดี ยันต์หนุมานหักคอช้างเอราวัณ นะคชสาร จะมีอานุภาพสูงมีเทพวิญญาณมาสถิตย์คุ้มครองบนบอกได้ด้วยแรงครูประกำ ดีเด่นด้านโภคทรัพย์เรียกว่าเป็น นางกวักก็ได้ พ่อค้ารุ่นเก่า ที่เล่นเครื่องราง มักเสาะหา คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือตะขอช้าง มาให้อาจารย์ที่ตนนับถือลง อาถรรพ์เพิ่มเติมให้ หากนำมาไว้ที่บ้านยังเป็นของคุมอาถรรพ์ด้วยเชื่อว่ามีอานุภาพ บังคับทุกสิ่ง ให้เป็นไปในทางดี ไม่ก่อกำเริบเดือดร้อน หากผู้มีวิทยาคุณอื่นจะมาลองวิชาก็มักแพ้ภัยตัวเองไป เพราะอำนาจ เหล็ก คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือตะขอช้าง สะกดอาคมไว้มิให้แสดงฤทธิ์ได้นั่นเอง เป็นของดีที่ไม่ค่อยพบเห็นมากนักทั้งผู้รู้เรื่องก็มักปกปิดเก็บเงียบอมพนำ เสียก็เลยไปกันใหญ่
คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือตะขอช้าง นี้ ดีในทาง ควบคุมคน ให้ อยู่ใน อำนาจด้วยเพราะ เคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งมีผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่อยู่ในโอวาท กระด้างกระเดื่อง เพราะก็ถือว่าเป็นดีมีวิชาเหมือนกัน ก็เลยเขียนชื่อเอาขอช้างสับสะกดไว้ปรากฏว่าเจออีกทีหงอเชื่องเชื่อฟังแต่โดย ดี เรื่องคือ ศาลาวัดหนึ่ง ผี นางไม้ดุมากคอยรบกวนผู้พักอาศัยให้เดือดร้อนอยู่เนืองๆ จนไม่มีผู้กล้าพักอาศัยยามค่ำคืน และเป็นผีที่เหลือมือหมอคือ เป็นประเภทพฤกษาเทวาอาคมธรรมดาไม่สามารถสะกดอยู่ จน วันหนึ่งนางไม้นี้มาสิ้นฤทธิ์อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อมีส่วยคณะหนึ่งเดินทางมาผ่านพักที่ศาลาหลังนี้พอนางไม้เริ่มออกฤทธิ์ เขย่าศาลาหัวหน้าคณะส่วยไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะไม่เคยเรียนมนตร์ปราบผี นึกถึงความศักดิ์สิทธิ์องค์ครูประกำได้ก็เอา คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือตะขอช้าง นี่สับไปที่เสาตกน้ำมัน ที่นางไม้นี้อยู่ ปรากฏว่าทีเดียวเท่านั้นนางไม้นั้นสิ้นฤทธิ์หมดพิษสงสงบเสงี่ยมเงียบจ๋อยไม่ มารบ กวนอีกเลย อ้าวก็ช้างตกมันตัวเบ้อเร่อเบ้อเท่อขออันเดียวยังสะกดอยู่เลย นางไม้ตัวเล็กๆจะเหลืออะไรเพราะในทางไสยเวทช้างเป็นสัตว์ที่มีรังควาน (อาถรรพ์) แรงเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์หรือมีดีในตัว เเม้ขนหางช้างหากนำมาทำเเหวนก็ยอดเรื่องป้องกันอาถรรพ์ต่างๆ คชกุศ ขอช้าง ขอสับช้าง หรือตะขอช้าง จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยแรงครูประกำที่สูง มากจนข่มกันอยู่
ในทางไสยเวทช้างเป็นสัตว์ที่มีรังควาน (อาถรรพ์) แรงเป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์หรือมีดีในตัว เเม้ขนหางช้างหากนำมาทำเเหวนก็ยอดเรื่อง ป้องกันอาถรรพ์ต่างๆ ขอช้างจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยแรงครูประกำที่สูงมาก จนข่มกันอยู่ นักเลงวิทยาคมรุ่นเก่าจึงมักแสวงหาขอช้างที่ลงอาคมครูประกำ มาไว้ใน ครอบครองยิ่งขอนั้นสะกดช้างตกมันมาด้วยยิ่งนับถือว่าดี (แต่สุด ยอดคือขอช้างมงคลคือช้างเผือกที่สุดยอดหายากเลย) เพราะ เท่ากับได้ของมงคลพิเศษที่มีทั้งศรี คือความเป็นมงคลและเดชคืออำนาจในการสะกดข่ม อยู่ในตัว
สำหรับ ตะขอช้าง หรือ คชกุศ ที่นำออกให้บูชา ได้จัดสร้างขึ้นโดยควาญช้างผู้เชี่ยวชาญของล้านนาถูกต้องตามตำราที่สืบทอด กันมา จึงมีลักษณะตรง ใช้ไม้ไผ่ซึ่งโดยมากเป็นไม้ไผ่ตัน แตกต่างจากของทางภาคกลางที่พบมากเป็นเถาวัลย์รัด
คัดเลือกควาญช้างผู้มีประสบการณ์มีภูมิรู้เรื่องช้างมาหลาย สิบปี และได้ใช้กับช้างเพื่อเอาเคล็ดแล้ว โดยเป็นช้างตัวผู้เท่านั้น ไม่ได้ใช้กับช้างทั่วไปตัวไหนก็ได้ แต่จำเพาะว่าจะต้องเป็นช้างตัวผู้ที่มีงายาวโง้งเท่านั้นอีกด้วย ช้างที่ไม่มีงาก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน คำว่าเอกทันตะนี้มีผู้เอาบทความของทางร้านไปคัดลอกโดยเข้าใจผิดว่าเป็นชื่อ เฉพาะของตระกูลช้าง แต่ความจริงแล้วหมายถึงช้างที่มีงาเดียวโดยธรรมชาติที่หาได้ยากยิ่ง โดยได้ให้มีพิธีใช้กับช้างดังกล่าวเพื่อความเข้มขลัง
ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุต ส่วนตะขอยาวประมาณ 5 นิ้ว ทั้งหมดทำย่อส่วนลงมา อาจใหญ่พอๆกับตะขอช้างที่บางท่านมี เนื่องจากท่านมีอาจเป็นช้างตัวเมีย หรือตะขอสำหรับช้างตัวเล็ก แต่เนื่องจากของเราต้องทำย่อส่วนเพราะหากเอาขนาดจริงมาให้บูชาจะมีขนาดใหญ่และหนักมาก เอาตั้งบนหิ้งหรือขันครูแล้ว คนที่เคยบูชาตะขอเก่าๆไปได้แนะนำว่า อยากได้อันย่อมลงมาพอเหมาะพอพกไปที่ต่างๆได้ เสียมากกว่า จึงได้จัดทำเป็นขนาดย่อส่วนลงมา
ทั้งนี้คำถามประจำคือ ได้ผ่านการใช้งานมาแล้วหรือไม่ ขอตอบว่าได้ผ่านการใช้งานมาแล้ว อันนี้หายห่วงได้ ถือเอาเคล็ดให้ครบแล้วทุกอย่าง เพียงแต่มีการบรรจุและปลุกเสกเพื่อเพิ่มพลังและเน้นด้านอิทธิคุณให้มากยิ่งขึ้นกว่าตะขอช้างเก่าธรรมดาๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น